วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 10 วิทยาศาสตร์คอนเฟิร์ม...ดวงดูที่ความยาวนิ้ว


แม้จะดูไม่ค่อยสัมพันธ์กัน แต่นักวิทยาศาสตร์กลับเผยว่า นักธุรกิจที่ล้มเหลวมักจะมี “นิ้วนาง สั้นกว่า นิ้วชี้”


ภาพ: ทุกอย่างอยู่ที่นิ้ว ผลสำเร็จทางธุรกิจขึ้นกับความยาวนิ้ว
Credit: J. Coates et al., PNAS 106 (13 January 2009)


งานวิจัยก่อนหน้านี้รายงานว่าอัตราส่วนความยาว นิ้วชี้ต่อนิ้วนาง ประมาณ 2:4 จัดว่าเป็นอัตราส่วนที่เหมาะเหม็ง บอกถึงระดับฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนที่ร่างกายได้รับขณะเป็นตัวอ่อน หากระดับเทสทอสเทอโรนสูงจะส่งผลให้นิ้วนางของเรายาวขึ้นยาวขึ้นจนได้อัตราส่วนระหว่างนิ้วชี้และนิ้วนางเป็น 2:4 นี่ล่ะครับ
การได้รับฮอร์โมนในขณะที่เป็นตัวอ่อนสูงนี้จะส่งผลให้ร่างกายไวต่อฮอร์โมนมากขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงพบว่าใครที่มีเทสทอสเทอโรนตอนเป็นตัวอ่อนสูงจะไวต่อฮอร์โมนนี้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ สามารถโต้ตอบได้เร็วและเผชิญกับปัญหาได้ดีกว่า
คุณลักษณะทั้งสองประการนี้ล้วนจำเป็นต่อนักธุรกิจผู้เห็นเวลาทุกนาทีเป็นเงินเป็นทอง ทำเอาอดีตนักธุรกิจวอลล์สตรีทและนักวิทยาศาสตร์ด้านการรับรู้ของสมอง จอห์น โคทส์ ถึงกับเป็นงง…
เพิ่งจะปีที่แล้วนี้เองครับที่โคทส์รายงานว่า นักธุรกิจที่มีระดับเทสทอสเทอโรนสูงในตอนเช้าจะทำเงินได้ดีกว่านักธุรกิจที่ไม่มีคุณสมบัติข้อนี้ แถมยังพบว่า ชายที่มีอัตราส่วนความยาวนิ้วชี้ต่อนิ้วนางต่ำจะมีความสามารถในด้านกีฬาเหนือกว่าชายที่มีอัตราส่วนสูงกว่าอีกด้วย
โคทส์จึงแอบกล่าวเล่น ๆ ว่า มีโครงการจะนำลายพิมพ์นิ้วมือของนักธุรกิจ 44 คนที่เค้ากำลังศึกษาอยู่มาเปรียบเทียบกัน โดยนักธุรกิจทั้งหมดนี้ล้วนเป็นนักธุรกิจชั้นแนวหน้าของลอนดอนครับ
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ใน รายงานความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ฉบับวันที่ 13 มกราคม โดยรายงานว่านักธุรกิจที่มีอัตราส่วนระหว่างนิ้วชี้ต่อนิ้วนางต่ำหรือก็คือผู้ที่ได้รับออร์โมนเทสทอสเทอโรนช่วงอยู่ในครรภ์สูง จะได้รับผลกำไรมากสุดในช่วงให้หลัง 20 เดือนไม่มากนัก คิดเป็นเงินประมาณ 1,232,590 ดอลลาร์ หรือประมาณเกือบ 6 เท่าของชายที่มีอัตราส่วนความยาวนิ้วสูงกว่า
ทิมม์ ฮาร์ฟอร์ด คอลัมนิสประจำไฟแนนเชียลไทม์ และผู้เขียนบทความเรื่อง ปรัชญาแห่งชีวิต(The Logic of Life: The Rational Economics of an Irrational World) กล่าวว่ารายงานนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง ทำให้ตนได้เห็นว่าการคัดเลือกตามธรรมชาติมิได้เกิดแค่ในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น (เป็นการคัดเลือกที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมกว่าอยู่รอด) แต่ยังเกิดขึ้นในตลาดการค้าอีกด้วยเพราะก่อนหน้านี้ฮาร์ฟอร์ดมองธุรกิจตามหลักแห่งเหตุและผล ใครคิดดีกว่าย่อมได้เปรียบ
อย่างไรก็ตาม โคทส์เน้นว่า การศึกษานี้อ้างอิงข้อมูลจากธุรกิจชนิดเดียว หากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ระยะเวลานานคุณลักษณะที่กล่าวถึงนี้อาจกลายเป็นผลเสียได้ เช่น ธุรกิจการลงทุนที่ต้องวางเงินเดิมพัน ธุรกิจการลงทุนธนาคาร ธุรกิจแต่ละประ เภทล้วนต้องใช้คุณสมบัติแตกต่างกัน...

ที่มา : http://sciencenow.sciencemag.org/cgi/content/full/2009/112/1
อ้างอิง : http://en.wikipedia.org/wiki/Testosterone



-------------------------------------------------------------------------------------------



อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/vnews/152003

ไม่มีความคิดเห็น: