วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 13 ดื่มอะไร...แก้เมาค้าง...


..........เจาะข้อเท็จจริงเรื่องสูตรการแก้เมาค้าง อะไรที่ใช่ และอะไรที่ไม่ใช่
จัดงาน ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และดนตรี เพื่อการเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ กับเพื่อนฝูงและครอบครัว แต่มีบางครั้งที่หลายท่านต้องปวดหัวกับอาการพิกลๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มึนศรีษะ ปากแห้ง เนื่องจากอาการ “เมาค้าง”
สูตรแก้เมาค้างที่เราได้ยินกันมา ทั้งการดื่มเครื่องดื่มให้พลังงาน กาแฟ วิตามิน น้ำมะพร้าว เครื่องดื่มรสเปรี้ยว วิตามินซี รับประทานยาแก้ปวด การออกกำลังกายการออกเหงื่อ ฯลฯ ได้ผลหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญ โปรเฟสเซอร์ Steve Allsop ให้คำแนะนำไว้ดังต่อไปนี้
อาการเมาค้างนั้นมีปัจจัยมาจากการเสียน้ำของร่างกาย (dehydration) และการอดนอน หลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจาก ส่วนใหญ่แล้วกว่างานเลี้ยงจะเลิกราก็จะมักจะล่วงเลยไปกว่าเวลาพักผ่อนตามปกติ นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ก็ยังทำให้ความสามารถในการนอนหลับอย่างสนิทลดลง ไม่ต่างจากความสามารถในการขับขี่ เมื่อตื่นขึ้นมาเราจึงรู้สึกอ่อนเพลีย
เมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ตับทำหน้าที่ย่อยสลายสารที่อยู่ในแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอะซิตอลดีไฮด์ (acetaldehyde) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เรารู้สึกแย่หลังจากที่เราดื่มเข้าไปจำนวนมาก
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ไม่มีอะไรแก้เมาหรือเมาค้างได้ นอกจากเวลา ฉะนั้น ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกัน ซึ่งได้ง่ายๆหลายวิธีด้วยกันคือ
• การดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สลับกันกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มน้ำสักแก้วโตๆก่อนออกจากบ้าน และเมื่อกลับมาจากงานเลี้ยง นอกจากนี้ อีก 1 แก้วหลังจากตื่นนอน• ไม่ควรดื่มขณะท้องว่าง รับประทานอาหารร่วมกับการดื่มด้วย• จำกัดปริมาณเครื่องดื่ม
น้ำ นม เครื่องดื่มให้พลังงานให้พลังงาน หรือ เครื่องดื่มใดๆที่ไม่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนนั้นช่วยบรรเทาอาการสูญเสียน้ำได้ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมันจะช่วยทดแทนระดับของสารประกอบเกลือ (electrolytes) ในร่างกายที่สูญเสียไปในขณะที่ร่างกายสูญเสียน้ำ
นอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารในปริมาณน้อยๆ และไม่ควรเป็นของทอด หรือ ของที่มีรสมันเลี่ยน เพราะมันจะไปเพิ่มอาการอยากอาเจียนมากขึ้น และนอนพักผ่อนไม่ควรทำงานกับเครื่องจักรหรือขับขี่ยานพาหนะ

อ้างอิง
Steve Allsop. “Q: Will sports drinks cure your hangover?”. ABC Health. 10 December 2008. 30 December 2008. < http://www.abc.net.au/health/talkinghealth/factbuster/stories/2008/12/10/2442749.htm>.


-------------------------------------------------------------------


อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/vnews/151960

ไม่มีความคิดเห็น: